top of page
poster cover for small page.jpg

ประเด็นหลักของการจัดประชุม

      ประเด็นหลักของงานเกิดขึ้นจากการสำรวจและเชื้อเชิญนักวิชาการและผู้ปฏิบัติการ ทั้งที่ทำงานด้านสุขภาวะทางปัญญาอยู่แล้วอย่างเชี่ยวชาญ และผู้ที่สนใจและต้องการสำรวจประเด็นการทำงานนี้ให้ชัดเจนขึ้น มาเป็นเจ้าภาพจัดห้องย่อยในงานประชุมวิชาการ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ และเชิญผู้สนใจทั้งในด้านความรู้ ปฏิบัติการ และการทำงานเชิงนโยบาย เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นการร่วมกันสร้างองค์ความรู้ใหม่จากปัญญาปฎิบัติร่วมกัน และนำความรู้ที่ได้ไปขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาในสังคมไทยและเวทีโลกในระยะยาว

จากการนำเสนอห้องย่อยในงานประชุมวิชาการขององค์กรร่วมจัดทั้งหมด ผู้จัดงานได้จับประเด็นหลักของการจัดประชุม 5 ประเด็นคือ

1. การมาถึงของจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย

2. ระบบสุขภาพที่เยียวยาทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

3. ระบบสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียม และคำนึงถึงความสุขของคนทุกคน

4. ระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนให้คนเต็มคน

5. หลากหนทางเชื่อมโลกภายในตนกับโลกกว้าง

ห้องย่อยในงานประชุมวิชาการ

      ในการจัดประชุมวิชาการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 มีองค์กรและกลุ่มบุคคลร่วมเป็นเจ้าภาพจัดห้องย่อยจำนวน 25 ห้อง

แถบ1.jpg

T1 - การมาถึงของจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย

T1-1 สุขภาวะทางปัญญาวัดได้: องค์ประกอบและตัวชี้วัดสุขภาวะทางปัญญาในคนทำงานและนิสิตนักศึกษา

โดย ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ธนาคารจิตอาสา

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: 801 + FB Live

รูปแบบ: เสวนา - ทำความรู้จักแบบวัดสุขภาวะทางปัญญาสำหรับคนทำงานและนิสิตนักศึกษา ที่เป็นการวัดประเมินซึ่งพัฒนาจากการสัมภาษณ์จากประสบการณ์จริง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยนับพันคน พร้อมหาแนวทางต่อยอดการทำงานร่วมกัน

T1-2 ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี: ทางเลือกในการพัฒนาสุขภาวะของสังคม

โดย วรรณา จารุสมบูรณ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: 803

รูปแบบ: เสวนา - แลกเปลี่ยนถึงความเป็นไปได้ในการสร้างสังคมแห่งความกรุณา ที่สมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมดูแลและรับผิดชอบความเจ็บป่วย การตาย และการสูญเสียตามศักยภาพที่ตนทำได้ รวมทั้งการออกแบบนโยบายสาธารณะที่เอื้อให้คนในสังคมเข้าถึงคุณภาพชีวิตในระยะท้ายและจากไปด้วยดี

T1-3 บนเส้นทางของผู้ดูแล (The Caregivers’ Path)

โดย ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท กลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดฯกระทรวงสาธารณสุข

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • ห้อง: 801 + FB Live

รูปแบบ: บรรยาย วิพากษ์ สะท้อนแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ฟัง - เปิดประเด็นและชวนทำความเข้าใจบทบาท “ผู้ดูแล” (caregivers) ของคนในสังคม ในฐานะฐานการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา ผ่านพลวัตสามด้านของ “การดูแล” คือ Professional caregiving, Family caregiving และ self-care

T1-4 แม่มด: ผู้หญิงกับความศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตและจิตวิญญาณ

โดย ดร.อันธิฌา แสงชัย และ ศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • TK Hall (ศศปาฐศาลา ชั้น 1)

รูปแบบ: เสวนา - แม่มดคือใครและทำอะไร? คำถามเหล่านี้เป็นที่สนใจมากขึ้น มีผู้ที่เรียกตัวเองว่าแม่มด รวมถึงผู้สนใจจิตวิญญาณผู้หญิง เวทมนตร์ และไสยเวท อันเป็นวิถีดั้งเดิมในชุมชนท้องถิ่นที่พบได้ทุกภูมิภาคทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ

T1-5 สุขภาวะทางปัญญาเพื่อสันติภาพ: วงจรชีวิตในการเรียนรู้เพื่อสันติ

โดย ดร. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: 801 + FB Live

รูปแบบ: เสวนา - นำเสนอบทความทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านสันติภาพกับกระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ในหัวข้อปรัชญาสันติภาพ, การศึกษาเพื่อสันติภาพ, สันติทวีวาร (everyday peace), สันติวัฒนธรรม, มรณสันติ

แถบ6.jpg

T2 - ระบบสุขภาพที่เยียวยาทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

T2-1 ความเจ็บป่วยในยุคสมัยใหม่ และญาณวิทยาว่าด้วยการเยียวยา

โดย อ.ศศิธร ศิลป์วุฒยา ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: TK Hall (ศศปาฐศาลา ชั้น 1)

รูปแบบ: เสวนา - ทบทวนและวิพากษ์ญาณวิทยาเรื่องการดูแลสุขภาพและการเยียวยารักษา เพื่อตอบคำถามปรากฏการณ์ทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเสนอมุมมองใหม่ที่อาจนำไปสู่รูปแบบการเยียวยารักษาที่ครอบคลุมทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ

T2-2 HA Spiritual in Healthcare: บูรณาการมิติจิตวิญญาณในระบบสุขภาพ

โดย ดร.บรรจง จำปา สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: 801 + FB Live

รูปแบบ: เสวนา - ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนระบบสุขภาพ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยด้วยจิตใจที่เป็นสุข พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นตามมาตรฐานวิชาชีพและจากแก่นแท้ภายในตนเอง เป็นการบริการด้วยความด้วยความเข้าใจมิติด้านจิตวิญญาณซึ่งมีผลต่อสุขภาวะ

T2-3 สุขภาวะทางปัญญา: การรับรู้และการเรียนรู้ในโรงเรียนแพทย์ไทย

โดย ผศ.นพ.เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกลุ่ม Thai Transformative Learning for Medicine (TTMD)

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • ห้อง: 802

รูปแบบ: สนทนาอ่างปลา (Hybrid) - แบ่งปันและเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้อง และการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่จริงเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของประเทศไทย เพื่อหาโอกาสทำประโยชน์ในเรื่องนี้แก่สังคมมากยิ่งขึ้น

T2-4 การพัฒนางานอาสาสมัครในระบบโรงพยาบาล

โดย นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: 802

รูปแบบ: สนทนาอ่างปลา - วงสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานอาสาสมัครในโรงพยาบาล และหาแนวทางร่วมกันพัฒนางานอาสาสมัครในระบบบริการสุขภาพ ร่วมสนทนาโดยผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย ผู้บริหารโรงพยาบาล เครือข่ายและตัวแทนอาสาสมัคร นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป

T2-5 การขับเคลื่อนสุขภาพทางปัญญาผ่านธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565

โดย ดร.ทิพิชา โปษยานนท์ และศิริธร อรไชย สำนักวิชาการและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: TK Hall (ศศปาฐศาลา ชั้น 1)

รูปแบบ: เสวนา - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 สาระหมวดสุขภาพทางปัญญา แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนงานสุขภาพทางปัญญาอย่างบูรณาการ

แถบ3.jpg

T3 - ระบบสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียม และคำนึงถึงความสุขของคนทุกคน

T3-1 การรู้–รับ–ปรับ-ฟื้น จากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดย ดร.ปัณฑิตา ตันวัฒนะ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: 803

รูปแบบ: เสวนา (Hybrid) - เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนงานวิจัยและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual health) ผ่านการเพิ่มความสามารถของบุคคล ชุมชน องค์กร เกษตรกร ในการ การรู้–รับ–ปรับ-ฟื้น (resilience) จากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

T3-2 วงเสวนาเป็นกันเอง: จิตวิญญาณเพศหลากหลาย

โดย เอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ Queer Riot และสุมาลี โตกทอง ผู้ประสานงานนักกิจกรรมและองค์กรความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: 702

รูปแบบ: เสวนาและศิลปะจัดวาง - สื่อสารประสบการณ์และข้อเสนอของกลุ่มคนทำงานความหลากหลายทางเพศของไทย เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ผ่านการทำงานศิลปะจัดวาง

T3-3 Foresight Workshop: The Future of Public Policy for Spirituality อนาคตของนโยบายสาธารณะ ต่อจิตวิญญาณ

โดย ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: 802

รูปแบบ: เวิร์กชอป - การนำเสนอผลการศึกษาเชิงวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอนาคตศาสตร์ เพื่อสำรวจความเชื่อมโยงระหว่าง spirituality & public policy เพื่อเข้าใจและตอบสนองความต้องการและองค์ความรู้ทั้งภาครัฐ, ประชาสังคม และกลุ่มสังคมนักปฏิบัติตลอดจนสร้างเป็นแนวทางในการออกแบบนโยบายสาธารณะต่อจิตวิญญาณร่วมสมัยแบบใหม่ให้กับประเทศไทย

T3-4 การตายของคนเมือง: ระบบชุมชน ระบบสุขภาพ และระบบนโยบายที่จำเป็น

โดย รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • ห้อง: 803

รูปแบบ: เสวนา

T3-5 สุขภาวะทางจิตวิญญาณของชุมชนชายขอบ

โดย ผศ.ดร.อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: 803

รูปแบบ: เสวนา (Hybrid) - นำเสนอการทำงานขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญาในชายแดนใต้ และการประเมินสุขภาพแบบองค์รวม โดยชุมชนจัดการตนเอง CHIA

แถบ4.jpg

T4 - ระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนให้คนเต็มคน

T4-1 การรับมือความทุกข์ส่วนตัวและทุกข์ทางสังคมของนักศึกษาร่วมสมัย

โดย ดร.ศยามล เจริญรัตน์, ชลนภา อนุกูล สมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ (ประเทศไทย)

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: 802

รูปแบบ: เวิลด์คาเฟ่ - สืบค้นแนวทางด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณของคนวัยหนุ่มสาวในการรับมือกับความทุกข์ร่วมสมัย สะท้อนย้อนคิดทัศนคติและมุมมองต่อความสุขความทุกข์ของตนเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทาง เครื่องมือ กลไก และหรือวิธีการ ที่นักศึกษาใช้รับมือกับทุกข์ภาวะทั้งของตนเองและสังคม

T4-2, T4-3 การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม: ร่วมสร้างระเบียบวิธีวิจัยแบบ Spirituality

โดย ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี Homemade 35

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น. (ห้อง 701)

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น. (ห้อง DJ Hall - ศศนิเวศ ชั้น 1)

รูปแบบ: นำเสนอบทความวิชาการ - นำเสนอผลการริเริ่มสร้างสรรค์งานอันเป็นการวางรากฐานระเบียบวิธีวิจัยแบบจิตวิญญาณในสังคมไทย เพื่อการเข้าถึงศักยภาพมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม และการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างมนุษย์ สังคม โลกและธรรมชาติ

T4-4 หยั่งรากจิตตปัญญาศึกษา สู่สังคมแห่งความสุข: การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

โดย ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • ห้อง: 701

รูปแบบ: เสวนา - นำเสนอ เจาะประเด็นและบอกเล่าประสบการณ์การทำงานในบริบทสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนทั้งในระดับตนเอง องค์กร และสังคม

T4-5 เมื่อนักศึกษาจิตตปัญญาทำวิจัย: เรื่องราว เรียนรู้ เติบโต เปลี่ยนแปลง

โดย ดร.อริสา สุมามาลย์ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: 701

รูปแบบ: เวิลด์คาเฟ่ - นำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจ และการฝึกปฏิบัติบนวิถีแห่งประสบการณ์ที่ว่าด้วยตนเอง ผู้อื่น ชุมชน สังคม โลกและธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวม

แถบ5.jpg

T5 - หลากหนทางเชื่อมโลกภายในตนกับโลกกว้าง

T5-1 เครื่องมือ Peaceful death กับการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา

โดย กลุ่ม Peaceful death และ กลุ่มขะไจ๋

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 13.00-14.50 น.

  • ห้อง: 701

รูปแบบ: เสวนา - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกระบวนกรและกระบวนกรชุมชนที่มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Peaceful Death ในชั้นเรียน องค์กร และชุมชน

T5-2 Nature Connection ภาคปฏิบัติ: ถอดรหัสกระบวนการสร้างสุขภาวะทางปัญญาด้วยธรรมชาติ

โดย ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ธนาคารจิตอาสา

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: DJ Hall (ศศนิเวศ ชั้น 1)

รูปแบบ: เสวนา - ร่วมเรียนรู้และหาคำตอบว่า วงการพัฒนาจิตจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อสังคมเริ่มกลับมาหาคำตอบในธรรมชาติ ผ่านการตอบโจทย์ความท้าทายทางจิตใจของคนรุ่นใหม่ หัวใจการออกแบบกิจกรรม สร้างชุมชนเรียนรู้ และสื่อสารเรื่องนี้ต่อสังคมยุคปัจจุบัน

T5-3 จิตวิทยาสติ: ตะวันออกพบตะวันตก

โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: 702

รูปแบบ: บรรยาย และเวิร์กชอป (Hybrid) - บรรยายพร้อมเอกสารวิชาการเรื่อง จิตวิทยาสติ: ตะวันออกพบตะวันตก และทำเวิร์กชอป Mindfulness Psychology in Action (จิตวิทยาสติกับการนำมาใช้ในสังคมไทย)

T5-4 ศิลปะกับการก้าวข้ามตัวตน

โดย ผศ.ดร.ทรงสิริ พุทธงชัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • วัน-เวลา: 17 ส.ค. 66 เวลา 15.10-17.00 น.

  • ห้อง: TK Hall (ศศปาฐศาลา ชั้น 1)

รูปแบบ: เสวนาและสาธิตการทำละคร - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันว่า “ศิลปะการแสดง” สามารถปรากฏตัวในฐานะ “ศิลปะเชิงจิตวิญญาณ” ซึ่งหมายรวมถึงศิลปะที่ใช้ผัสสะอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์หรือศิลปะที่ใช้ร่างกาย จะเป็นสื่อกลางของการก้าวข้ามตัวตนซึ่งนำไปสู่ความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณได้อย่างไร

T5-5 รุ้งงามในหัวใจฉัน

โดย วิชญา โมฬีชาติ สมาคมนักจิตวิทยาคลินิก และกลุ่มขะไจ๋

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 09.00-10.50 น.

  • ห้อง: 702

รูปแบบ: นำเสนอผลงานวิชาการ และเวิร์กชอป - นำเสนอบทความวิชาการเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งทางใจเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤติในชีวิต และเวิร์กชอป “ไพ่รุ้ง 21 วัน พารุ้งมาพบใจ: การดูแลใจในภาวะวิกฤติ”

T5-6 กลิ่นและการเยียวยา

โดย ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา และ ผศ.วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

  • วัน-เวลา: 18 ส.ค. 66 เวลา 11.10-13.00 น.

  • ห้อง: 702

รูปแบบ: เวิร์กชอป - ออกแบบกลิ่นบำบัดสำหรับตนเองผ่านกระบวนการค้นหาความเป็นตัวตน ผ่านการเรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานสำหรับการปรุงน้ำหอม การจับคู่โน้ตกลิ่นและวางโทนกลิ่นให้เหมาะกับอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล และลงมือปรุงกลิ่นให้ตรงกับตัวตนภายในของผู้เรียน

Logo section_new4.jpg
bottom of page